รีวิวสินค้า

ออดิโออินเตอร์เฟสที่สร้างมาเพื่อนักจัดรายการโดยเฉพาะ

โดย Millionhead ในวันที่ 19 พ.ย. 2559, 09:59 น.

fb

สวัสดีครับท่านผู้ฟังทุกท่าน กลับมาเจอกันเป็นประจำนะครับสำหรับรายการ Pro Review คลื่น Fm จุด จุด จุด

ฮ่าๆๆผมล้อเล่นครับแต่ที่ผมต้องพูดเข้ารายการเหมือนนักจัดรายการวิทยุนั้นก็เพราะว่าวันนี้ผมจะมาพูดถึงออดิโออินเตอร์เฟสที่ออกแบบมาสำหรับการใช้งานบรอดแคสต์ (Broadcast) โดยเฉพาะอย่างเจ้า “ TASCAM MiNi STUDIO US - 32, US - 42 ” นั่นเองครับ

 

 

 

ก่อนอื่นสำหรับท่านที่ยังไม่คุ้นหูกับคำว่า " บรอดแคสต์ (Broadcast) " มันเป็นคำที่เอาไว้ใช้ในงานที่เกี่ยวกับการพูดหรือจัดรายการกระจายเสียงและแพร่ภาพออกอากาศ เช่น การจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์ น่ะครับ แต่สำหรับยุคนี้มันก็อาจจะครอบคลุมไปถึง การเปิดช่องของตัวเองบน YouTube, การ Live สดบน Facebook, การแคสเกมส์ (กำลังมาแรงสำหรับยุคปัจจุบัน), การทำคลิปรีวิว, การจัดรายการผ่านอินเตอร์เน็ต ,การทำสื่อประกอบการเรียนการสอน ฯลฯ  เอาล่ะครับเมื่อเราเข้าใจตรงกันแล้วงั้นเราไปต่อกันที่เรื่องของ “ TASCAM MiNi STUDIO US - 32, US - 42 ” กันเลยครับในซีรีส์นี้เค้าก็จะมีทั้งหมด 2 รุ่นได้แก่ US - 32  และ US – 42 นะครับ แต่ละรุ่นจะมีความเหมือนความต่างอย่างไรบ้างเดี๋ยวผมจะเปิดให้สัมผัสกันที่ละรุ่นกันเลยครับ ...

เริ่มต้นกันที่ US-32 กันก่อนเลยนะครับ

นี่ก็คือภาพกล่องของเจ้า US-32 นะครับ ก็ยังคงคอนเซ็ปต์ของ TASCAM เอาไว้อย่างดีครับ (เห็นส้มๆนี่ต้องเค้าเลยล่ะครับ)

ทีนี้เรามาดูคุณสมบัติโดยรวมของ US-32 กันเลยนะครับ

เป็น USB Audio Interface

- มี 4 in 4 out ความละเอียดอยู่ที่ 24-bit/96kHz

- มี1 Mic Preamp และอีก 1 Built-in Omni Mic ( ไมค์ในตัวซึ่งแพทเทิลการรับเสียงเป็นแบบรอบทิศทาง )

ใช้ได้กับ - Mac/PC/iOS

เมื่อเราเปิดกล่องออกมาดูในกล่องก็จะมีตัวเครื่อง,คู่มือและสายแบบ USB มาเพียวๆเลยนะครับเพราะฉนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเราไปดูหน้าตาของมันกันเลย

 

   เจ้าตัวนี้หน้าตาไม่เหมือนออดิโออินเตอร์เฟสทั่วไปที่เคยเจอมาเลยใช่ไหมครับ หลายคนอาจจะงงว่ามันคือตัวอะไรกันแน่,มันจะใช่ออดิโออินเตอร์เฟสแน่รึเปล่า ? ...งั้นเรามาลองทำความรู้จักฟังก์ชันต่างๆของเจ้า US-32 ไปพร้อมๆกันเลยนะครับ

 

หมายเลข 1 : มันคือ Mic Preamp หรือช่องเสียบไมค์นั่นเองครับ ( ตัวนี้จะเป็นแบบ combo input เสียบได้ทั้งสายที่เป็น XLR และ TRS )

หมายเลข 2 : มันคือสวิทช์เอาไว้ให้เราเลือกว่าเราจะใช้ Input ตัวไหนซึ่งจะมีให้เลือกได้ 3 ทางก็คือไมค์คอนเดนเซอร์,ไมไดนามิคและไมค์ Built-In ครับ

หมายเลข 3 : มันคือตัววอลลุ่มสำหรับหูฟังหรือเรียกเต็มๆว่า Line Output Knob นั่นเองครับ

หมายเลข 4 : มันคือวอลลุ่มเพิ่มหรือลดระดับ Gain นั่นเองครับ

หมายเลข 5 : ตัวนี้น่าสนใจครับเพราะมันคือ Reverb Knob ที่มีให้เราปรับแต่งได้ที่ตัวเครื่อง (ปรับในขณะกำลังออกอากาศได้แบบ Real time ครับ)

หมายเลข 6 : PON Trigger Pads (1/2/3) มันก็คือปุ่มที่ใช้กดเพื่อเล่นเสียงที่เราจัดเตรียมเอาไว้ (มี3ปุ่มโดยให้เราเลือกเสียงอะไรก็ได้จากคอมพิวเตอร์)

หมายเลข 7 : ปุ่ม Effect มันก็คือปุ่มสำหรับกดเพื่อใช้เอฟเฟ็กต์แต่งเสียงของเราเป็น Real time เช่นเราเลือกเสียงแอคโค่เอาไว้เมื่อเรากดปุ่มนี้แล้วพูดเสียงที่เราพูดก็จะมีแอคโค่นั่นเอง

หมายเลข 8 : ปุ่มนี้ถือเป็นปุ่มที่ทำให้เจ้าตัวนี้กลายเป็นไอเท็มสำหรับนักจัดรายการอย่างเต็มตัวก็ว่าได้ครับเพราะว่ามันก็คือปุ่ม On Air เมื่อเรากำลังออนไลน์อยู่นั้นให้เรากดปุ่มนี้เอาไว้เพื่อให้ผู้ฟังได้ยินสิ่งที่เราพูดแต่ถ้าเราไม่ต้องการให้ผู้ฟังได้ยินเราก็แค่กด On Air ออกเท่านั้นเองครับ

หมายเลข 9 : Level meter ตรงส่วนนี้มันก็คือหน้าจอแสดงผลของ Gain

หมายเลข 10 : มันคือ Built-In Mic นั่นเองครับโดยตัวนี้จะรับเสียงจากรอบทิศทาง( Omnidirectional )

 

ต่อมาก็คือด้านข้างของตัวเครื่องนะครับ

 

หมายเลข 1 : POWER switch สวิทช์ตัวนี้คงไม่จำเป็นต้องอธิบายอะไรมากมายครับมันก็คือตัวเปิด / ปิด เครื่อง

หมายเลข 2 : USB 2.0 port ช่องเสียบสายแบบ USB 2.0 เพื่อเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์

หมายเลข 3 : DC IN 5V เมื่อต้องการใช้อุปกรณ์ iOS หรืออุปกรณ์อื่นๆที่ไม่สามารถจ่ายไฟให้อินเตอร์เฟสได้นั้นจึงจำเป็นที่จะต้องเสียบ Adapter เข้าที่ช่องนี้ครับ

 

 

หมายเลข 1 : Headphones Jack (stereo standard) ช่องหูฟังครับ

หมายเลข 2  : Headphones Jack (stereo mini) ช่องหูฟังเช่นกันครับแต่ช่องนี้จะเป็นขนาดจิ๋ว 3.5 มม.นั่นเอง

หมายเลข 3 : Mic Jack (TS mini) ช่องสำหรับไมค์ขนาดจิ๋วครับ (สมอล์ทอล์คหรืออาจจะเป็นพวกหูฟังสำหรับงานบรอดแคสต์โดยตรงที่มีไมค์ในตัวก็ใช้ได้นะครับ)

หมายเลข 4 : External input jack ช่องนี้สำหรับต่ออุปกรณ์อะไรก็ได้ที่มีช่อง Output เป็นแบบ Studio mini jack(สำหรับใครที่ไม่ทราบว่ามันเป็นแบบไหนนั้นก็ให้ลองนึกถึงช่องเสียบหูฟังมือถือของท่านได้เลยครับตัวอย่างเช่น เราเสียบสาย Aux จากมือถือหรือแทปเลตมาเข้าที่ช่องนี้แล้วเราเปิดเพลงจากในเครื่องหรือจากยูทูปก็ได้ครับแล้วเพลงนั้นๆมันก็จะถูกส่งมายังอินเตอร์เฟสครับแถมยังสามารถบันทึกเสียงเหล่านั้นได้อีกด้วยนะครับ

 

   สำหรับเจ้า US-32 ผมก็ได้อธิบายเอาไว้น่าจะครบถ้วนกระบวนความแล้วล่ะครับงั้นต่อไปเราไปดูเจ้า US-42 กันต่อเลยนะครับ เรามาดูกันว่ามันจะเหมือนหรือแตกต่างกับตัวที่ผ่านมา มากน้อยแค่ไหนครับ

 

   นี่ก็คือภาพกล่องของเจ้า US-42 นะครับ  บอกตรงๆว่ามองจากตัวกล่องแทบไม่เห็นความแตกต่างเลยครับ หน้าตาก็คล้ายๆกันกับตัว US-32 เลยล่ะครับแต่ถ้าสังเกตุดีๆแล้วจะเห็นว่าชื่อของ US-42 นั้นจะใข้คำว่าTASCAM MiNiSTUDIO CREATOR ครับ ส่วนเจ้า US-32จะใช้คำว่า TASCAM MiNiSTUDIO PERSONAL ครับ

 

เอาล่ะครับก่อนอื่นก็มาดูคุณสมบัติของ US-42 กันก่อนครับ

- ตัวนี้จะเป็น USB 2.0 Audio Interface

- มี 5-in/6-outความละเอียดอยู่ที่ 24-bit/96kHz

- มี 2 Mic Preamp แบบ(combo input ทั้ง 2 ช่องครับ)

- มีเอฟเฟกต์พร้อมใช้แบบ On Board 

- มีทีช่อง Output เป็นแบบ RCA สำหรับออกลำโพงมอนิเตอร์แยกซ้าย,ขวา

- ใช้งานก็ใช้ได้กับ  Mac/PC/iOS

 

    นี่คือหน้าตาของ US-42 ครับ ...ถ้ามองผ่านๆเนี่ยะแทบจะคิดว่าเป็นรุ่นเดียวกันเลยล่ะครับเพราะทั้งหน้าตาและฟังก์ชันที่มีนั้นดูยังไงๆก็คล้ายกันมากเลยล่ะครับ
เพราะฉนั้นในส่วนที่เหมือนกันกับ US-32 ผมจะไม่ขออธิบายซ้ำนะครับ เรามาดูสิ่งที่แตกต่างกันเลยละกันนะครับ  Let’s GO !!

หมายเลข 1 : มันคือ Mic 2 เพราะตัวนี้มีช่อง Mic Preamp มาให้ 2 ช่องครับ เป็นแบบ combo input ทั้ง 2 ช่องครับซึ่งนั่นก็หมายความว่าเสียบได้ทั้งสายที่เป็น XLR และ TRS เช่นกันครับ

หมายเลข 2 : มันก็คือสวิทช์ไว้ให้เราเลือกว่าเราจะใช้ Input ตัวไหนซึ่งจะมีให้เลือกได้ 3 ทาง
ก็คือ
ไมค์คอนเดนเซอร์,ไมค์ไดนามิคและไมค์ และ Inst.ครับ แปลว่าเจ้าตัวนี้จะตอบโจทย์กับคนที่ต้องการใช้งานที่เกี่ยวกับการบันทึกเสียงดนตรีได้ด้วยล่ะครับเพราะฉนั้นอย่างแรกในความต่างนั้นก็คือ US-42 จะไม่มีไมค์ Built in ครับแต่จะมีช่อง Mic Preamp แทนครับ

หมายเลข 3 : Line Output Knob หรือจะเรียกว่าตัววอลลุ่มสำหรับปรับเสียงที่ออกลำโพงมอนิเตอร์นั่นเองครับ (US-32 ไม่มีจ้า)

 

เอาล่ะท่านผู้อ่านครับเรารีบไปดูด้านข้างกันต่อเลยครับ เพราะว่าตอนนี้ผมตื่นเต้นอยากจะลองใช้เจ้านี่เต็มทีละครับ ^^

 

   เมื่อเราได้ทำการสำรวจด้านข้างของตัวเครื่องดูจนทั่วแล้วเราจะพบว่าตัว US-42 จะมีแค่จุดเดียวเท่านั้นเองครับที่แตกต่างไปจาก US-32   ซึ่งนั่นก็คือตัวนี้เค้าจะมี Line out L/R Jacks หัวต่อชนิด RCA (unbalance) มาให้ครับทำให้รุ่นนี้รองรับการใช้งานได้กว้างกว่าตัว US-32 อยู่พอสมควรครับ (โดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่าตัวนี้เป็นทั้งอุปกรณ์จัดรายการและก็ยังคงความเป็นออดิโออินเตอร์เฟสเอาไว้ได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่องครับ)

US-32,US-42

 

" นั่นล่ะครับ ท่านผู้ชม "

 

สนใจก็ติดต่อสอบถามกันได้เช่นเคยนะครับ

Tel : 081-802-5196, 02-719-2097 

เพิ่มเพื่อน

Line@ : @millionheadpro        

Facebook : millionheadpro      

Instagram : millionheadpro                  

ผม iaP บ๊ายบายครับ

                                                                                                                      

สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

Line@ : @millionheadpro
Facebook : millionheadpro
Instagram : millionheadpro