บทความ

4 ปัจจัยที่ต้องรู้ก่อนเลือกไมค์ สำหรับมือใหม่

โดย Millionhead ในวันที่ 12 ต.ค. 2559, 12:41 น.

image

   บทความนี้เป็นการกล่าวถึงวิธีการเลือกไมโครโฟนสำหรับมือใหม่ที่ต้องการบันทึกเสียงทำ Demo ด้วยตัวเอง, ทำโฮมสตูดิโอเองได้ที่บ้าน, หรือจะเป็นการทำคลิปวิดีโอลงYoutube เพื่อแสดงผลงานออกไปให้ใครๆได้เห็น สิ่งหนึ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งนั้นก็คือเรื่องของคุณภาพเสียงที่ออกไปในงานเหล่านั้น ควรจะเป็นเสียงที่มีคุณภาพที่สุดเพื่อไม่ให้ฝันต้องมาสะดุดตกม้าตายก่อนได้เกิด  สังเกตุได้จากหลายๆคนที่ได้แจ้งเกิด,ได้มีผลงานและได้ทำเป็นอาชีพนั้น ล้วนแล้วแต่ให้ความสำคัญกับเสียงกันทั้งสิ้น  แต่ก็ยังมีอีกหลายๆคนที่อาจจะได้แต่เสียดาย... เพราะเสียงที่ออกไปไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น เพราะฉนั้นแล้ว ... อย่ามองข้ามขั้นตอนการเลือกไมค์ อย่าให้ไมค์มาทำลายความฝันคุณ ...เอาล่ะครับมือใหม่ทั้งหลายเรามาดูปัจจัยที่ต้องรู้ก่อนการออกหาไมค์คู่ใจกันเถอะ

 

1.รู้ใจตัวเอง (ว่าต้องการอะไร)

   ความต้องการหรือจุดประสงค์ในที่นี้ก็คือ เราจะต้องรู้ก่อนว่าเราจะอัดอะไร? เพื่ออะไร? เพราะว่าการบันทึกเสียงนั้นมีหลายประเภท เช่น การพากย์เสียง, การร้องเพลง และการบันทึกเสียงเครื่องดนตรี ซึ่งแต่ละประเภทนั้นจะดีหรือจะเหมาะกับไมค์ประเภทไหนก็แตกต่างกันออกไป  เมื่อเรารู้ความต้องการของตัวเองแล้วขั้นต่อไปเราก็ค่อยมาหาสิ่งที่รองรับกับความต้องการของเรา

 

2.สิ่งที่ใช่ (ชนิดหรือประเภทของไมค์ต้องเลือกให้ถูก)

   เมื่อเรารู้ใจตัวเองแล้วว่าต้องการอะไรเพื่ออะไร ต่อมาเราก็ต้องมาศึกษากันถึงประเภทของไมค์ เพื่อให้ได้ไมค์ที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งผมขอแบ่งประเภทของไมโครโฟนออกเป็น 2 ประเภทหลักๆคือ ไมโครโฟนแบบไดนามิค และ ไมโครโฟนแบบคอนเดนเซอร์ 

 

2.1 ไมโครโฟนแบบไดนามิค

 

   

  ไมค์ประเภทนี้ในเรื่องของการรับเสียงจะค่อนข้างโฟกัสเฉพาะจุด และตอบสนองย่านความถี่ได้น้อยกว่าประเภทคอนเดนเซอร์ ลองจิตนาการถึงไมค์ที่นักร้องใช้ร้องสดบนเวทีจะเห็นว่าเมื่อไหร่ที่ปากของนักร้องออกห่างจากไมค์เสียงก็จะเบาหรือหายตามระยะห่างนั้นไปด้วย แต่มันก็อาจจะดีสำหรับการบันทึกเสียงในสถานที่ ที่มีเสียงรบกวนเยอะๆ เพราะฉนั้นไมค์ประเภทนี้จึงไม่เหมาะกับการบันทึกเสียงที่ต้องการความละเอียดสูงๆ  แต่มันจะเหมาะกับการบันทึกเสียงที่มีแอดแทคแรงๆ ตัวอย่างเช่น การจ่อหน้าตู้กีตาร์,เครื่องเป่า,รวมถึงการอัดเสียงกลองสแนร์ เป็นต้น

 

 

2.2 ไมโครโฟนแบบคอนเดนเซอร์ 

 

 เป็นไมค์ประเภทที่มีภาคการรับเสียงที่ละเอียด ไม่ว่าจะบันทึกเสียงดัง เสียงค่อย ไมค์ประเภทนี้มีความไวต่อเสียงมากๆ จึงทำให้เหมาะกับการบันทึกเสียงที่ต้องการน้ำหนักดัง เบา หรือต้องการเนื้อเสียงที่เป็นธรรมชาติ เช่น การบันทึกเสียงร้อง, กีตาร์โปร่ง หรือเครื่องดนตรีประเภทอคูสติคต่างๆ และนี่จึงทำให้ไมค์ประเภทนี้ไม่เหมาะกับการบันทึกเสียงในที่ ที่มีเสียงรบกวนเยอะ เพราะมันจะรับเสียงรบกวนนั้นๆเข้ามาด้วยเช่นกัน ไมค์ประเภทนี้สำหรับมือใหม่นั้นอาจจะยุ่งยากนิดหน่อย เนื่องจากมันไม่สามารถต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง อีกทั้งมันยังเป็นไมค์ที่ต้องใช้ไฟเลี้ยง เพราะฉนั้นจึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่มีปุ่ม +48V หรือเรียกว่า Phantom Power (โดยปกติแล้วปุ่ม Phantom Power นั้นจะมีอยู่ใน Audio Interface หรือ Mixer) หรือถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆนั้นก็คือไมค์ประเภทนี้จำเป็นต้องใช้คู่กับ Audio Interface หรือไม่ก็ Mixer อย่างใดอย่างหนึ่งนั่นเอง หรือหากไม่มีก็สามารถหาซื้อเฉพาะตัว Phantom Power แยกก็ทำได้ 

 

 

2.3 ไมโครโฟนประเภท USB

  ไมค์ประเภทนี้จะมีทั้งที่เป็นไมค์คอนเดนเซอร์ และไดนามิก ซึ่งจะแตกต่างกับไมค์ปกติตรงที่สายสัญญาณของไมค์ประเภทนี้จะเป็นสาย USB โดยข้อดีของมันก็คือสามารถเสียบเข้ากับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้ทันที ทำให้ใช้งานได้ง่ายมาก โดยไม่จำเป็นต้องผ่าน Mixer หรือ Audio Interface ใดๆทั้งสิ้น อีกทั้งราคาที่มีหลายระดับ และหลายช่วงราคา จึงทำให้ในปัจจุบันผู้คนเริ่มหันมาใช้ไมค์ประเภทนี้กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะไมค์ USB คอนเดนเซอร์ ส่วนข้อเสียของไมค์ประเภทที่เป็น USB นั้นก็คือค่าความละเอียดโดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 16 bit/44.1 kHz

 

 

3.รูปแบบการรับเสียงของไมค์ 

   เมื่อเราเลือกแล้วว่าไมค์แบบไหนที่ใช่ เรื่องต่อไปที่ควรรู้ก็คือรูปแบบการรับเสียงของไมค์ ซึ่งรูปแบบที่พบเจอได้บ่อยๆก็จะมี 3 รูปแบบดังนี้

  • Cardioid รูปแบบนี้เป็นรูปแบบพื้นฐานที่ไมค์ทุกตัวมีเหมือนกัน นั่นก็คือการรับเสียงเฉพาะด้านหน้าหมายถึงให้โฟกัสเสียงที่ต้องการบันทึกไปตรงด้านหน้า ส่วนด้านอื่นๆก็อาจจะยังมีเสียงเข้ามาบ้างแต่จะเบากว่าด้านหน้า
  • Figure Eight รูปแบบนี้จะเป็นการรับเสียงเฉพาะด้านหน้าและด้านหลัง (ไม่ได้รับด้านข้าง)
  • Omni – Directional รูบแบบนี้จะรับเสียงแบบรอบทิศทาง

เมื่อเรามีความเข้าใจตรงส่วนนี้แล้ว การตัดสินใจของการเลือกไมค์โครโฟนก็จะทำให้ง่ายต่อการเลือกใช้ ตัวอย่างเช่น

 

ตัวอย่าง 1. ถ้าเราต้องการใช้ไมค์เพื่ออัดรายการที่ต้องพูดพร้อมๆกันทีละสองคน หากเลือกใช้รูปแบบ Cardioid  นั้นก็จะทำให้เสียงของคนที่อยู่ด้านหน้าดังกว่าอีกคน ซึ่งการบันทึกเสียงแบบนี้ควรจะได้เสียงที่เท่าๆกันทั้งสองคนเพราะฉนั้นควรที่จะเลือกใช้ไมค์ที่มี Pattern รูปแบบ Figure Eight ถึงจะเหมาะสมกว่า

 

ตัวอย่าง 2. หากเป็นการบันทึกเสียงร้องของนักร้อง ควรบันทึกให้ได้เนื้อเสียงของนักร้องชัดที่สุด ความดังความเบาก็จะบ่งบอกอารมณ์ของเพลงด้วย เพราะฉนั้นจึงควรใช้ไมค์รูปแบบ Cardioid เพียงด้านเดียว เป็นต้น

ตัวอย่างที่ 3. ในกรณีที่ต้องการบันทึกเสียงรวมหลายๆเสียงพร้อมกัน เช่น การขับร้องเสียงประสานหรือพากย์เสียงเป็นกลุ่มๆ นั้นควรจะใช้ไมค์ที่มีรูปแบบ Omnidirectional เพื่อรับเสียงแบบรอบทิศทาง เพราะจะให้เสียงที่ได้นั้นมีความสม่ำเสมอจากทุกด้านเท่าๆกัน (ก่อนบันทึกก็ควรมีการนัดแนะ, การจัดตำแหน่ง และปรับบาลานซ์เรื่องความดังเบาของแต่ละคนเสียก่อน)

 

 

4.การตอบสนองความถี่ (เพื่อย่านเสียงที่ตรงกับความต้องการ)

   การตอบสนองความถี่นั้นก็หมายถึง ไมค์แต่ละรุ่นจะมีลักษณะคาแรคเตอร์เสียงที่ออกแบบมาแตกต่างกัน บางรุ่นจะเน้นไปที่ย่านความถี่สูงๆ หรือบางรุ่นอาจจะเน้นย่านความถี่ต่ำ โดยดูได้จากสเปคของไมโครโฟนซึ่งส่วนใหญ่จะให้มาในกล่อง หรือหาข้อมูลได้จากอินเตอร์เน็ตก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น หากเราต้องการไมค์โครโฟนซักตัวมาอัดเสียงร้องผู้ชายซึ่งเรนจ์เสียงอยู่ที่ 150Hz – 2kHz เราก็ควรเลือกใช้ไมค์ที่ตอบสนองย่านความถี่ดังกล่าวได้ดี และตรงกับเสียงที่เราต้องการ อีกทั้งยังทำให้ขั้นตอนการมิกซ์หรือแก้ไข Edit ตัดแต่งเสียงนั้นทำได้ง่ายยิ่งขึ้น

 

" รู้ใจตัวเอง  > เลือกสิ่งที่ใช่  > รูปแบบของไมค์  > ความถี่ไหนที่ใจต้องการ "

 

เมื่อเราทำความเข้าใจกับ 4 เรื่องนี้ไปแล้วนั้น การตัดสินใจของคุณก็จะง่ายขึ้นโดยการกำหนดสเปคของการใช้งานแล้วหาไมค์ที่ใกล้เคียงที่สุดมาเปรียบเทียบเรื่องของราคาและย่านความถี่ เพียงเท่านี้คุณก็จะได้ไมค์ที่เหมาะสมกับคุณละครับ ^^

 

สำหรับวันนี้ ผม Admin iaP ต้องขอตัวลาไปก่อนนะครับ ไว้พบกันใหม่ในบทความสาระความรู้เรื่องต่อๆไปได้เลยครับ สวัสดีครับ

 

 


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

Tel : 081-802-519602-719-2097 

เพิ่มเพื่อน

Line@ : @millionheadpro        

Facebook : millionheadpro      

Instagram : millionheadpro

สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

Line@ : @millionheadpro
Facebook : millionheadpro
Instagram : millionheadpro