บทความ

5 ขั้นตอน Mixing ง่ายๆ ที่เราต้องรู้

โดย Millionhead ในวันที่ 14 ม.ค. 2563, 16:33 น.

image

5 ขั้นตอน Mixing ง่ายๆ ที่เราต้องรู้ 

 
สวัสดีครับ ผม จั๋งดุ๋ง คนเดิม คนดี คนเดียว พบกันอีกครั้งนะครับ ครั้งนี้เรามีเกร็ดความรู้ดีๆ เกี่ยวกับการทำเพลง การ Mix เสียง เบื้องต้นมาฝากทุกท่าน 

หลักในการทำเพลงหนึ่งเพลงนั้น จะมีขั้นตอนหลักๆ อยู่ 3 ขั้นตอนด้วยกัน ดังนี้ 

1.Tracking  

  • คือการ Edit เสียง กล่าวคือการอัดเสียงเข้าสู่ Daw ไม่ว่าจะเป็นการร้องหรือการอัดเครื่องดนตรีต่างๆ นั่นเอง  

2.Mixing 

  • คือ การปรุงเเต่งเสียงที่เราอัดเข้าสุ่ Daw 

3.Mastering 

  • คือการใช้ Plugin ประเภท Dynamic เพื่อทำให้เสียงที่เราบันทึก และทำการ Mix ที่เรียบร้อยแล้ว มีความดังเบา Balance กัน และมีความดังเท่ากับเพลงทั่วไป 

โดยบทความนี้ จั๋งดุ๋ง จะมาพูดถึง การ Mixing กันครับ 

การ Mix เสียงคืออะไร ? ทำไมต้อง MIX เสียง ? 

  เป็นคำถามที่เชื่อว่าหลายท่านก็อาจจะสงสัยกันนะครับ ว่าทำไมเมื่อเราบันทึกเสียงหรืออัดเสียงเครื่องดนตรีต่างๆ แล้วจำเป็นด้วยหรือไม่ที่ต้องมา Mix เพิ่มเติม

ให้เสียเวลา ทั้งๆ ที่ก็สามารถปรับหน้าตู้ หรือใส่ Preset ที่มีมาให้ไปเลยก็ได้  

  นั่นเเหละครับในทางปฏิบัติแล้วเราไม่จำเป็นต้องทำก็ได้ แต่!! สิ่งที่จะขาดหายไปในเพลงก็คือ มิติ รวมไปถึงภาพรวมของความ Balance และ Dynamic ที่สูญเสียไป ทำให้เสียงที่เราอัดมานั้นดูไร้มิติ ถ้าจะให้เห็นภาพก็คือ เหมือนเราทำกับข้าวสักอย่างนึงนั่นแหละครับ การที่เรานำวัตถุดิบมาใส่รวมกันเฉยๆ มันอาจจะทำให้อาหารจานนั้นดูน่ากิน แต่มันไม่สามารถทำให้ควายอร่อยเพิ่มขึ้นได้ ก็เช่นเดียวกันกับการ Mix เสียง ก็คือการเพิ่มความหอมหวานรสสัมผัสที่ละมุนละไมให้กับเสียงที่เราบันทึกมาครับ ทำให้เสียงน่าฟังและดูมีอะไรมากกว่าการนำเสียงมารวมกันอย่างเดียว โดยไม่มีการปรุงเเต่ง 

 อย่างที่กล่าวไปข้างต้นการมิกเสียงทำให้เสียงของเรามีความไพเราะ เเละน่าฟังมากยิ่งขึ้น แต่เราควรทำอย่างไรและควรเริ่มจากตรงจุดไหน จึงจะได้เสียงที่ดีออกมา

ซึ่งในการ Mix เบื้องต้น จะมีอยู่ 5 ขั้นตอนด้วยกัน คือ  

1. Balance 

แยกออกมาเป็นสองขั้นตอนหลักๆ ด้วยกัน คือ   

1.1  Level 

   การกำหนดค่าความดังเบาของเสียงที่เข้ามาสู่ Daw ทำให้เสียงมีความ Balance 

1.2  Pan 

   การ Pan หรือการกำหนดฝั่งหรือทิศทางของเสียง ซ้ายหรือขวา เพื่อให้เสียงมีความ Balance และกลมกลืนกันมากขึ้น  

2. EQ 

EQ คืออะไร ? 

EQ หรือ Equalizer เป็นเครื่องมือที่ใช้เพิ่มหรือลดระดับเสียง ทุ้ม กลาง แหลม ตามย่านความถี่ (Frequency) ในแต่ละช่วงตามความต้องการ ชดเชยความถี่เสียงที่ขาดหายไป หรือ ลดความถี่เสียงที่ดังเกินไป โดย EQ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท  ดังนี้้ 

1. Graphic Equalizer 
  EQ ประเภทแรกออกแบบมาเพื่อให้เพิ่ม หรือลดย่านความถี่เฉพาะตามที่ผู้ออกแบบกำหนดมาจากโรงงาน โดยจะระบุตัวเลขในแต่ละความถี่ไว้ที่ตัวปรับความถี่แต่ละตัว หากต้องการที่จะปรับแต่งเสียง สามารถเลือกปรับเสียงได้เฉพาะความถี่นั้น ๆ 

2. Parametric Equalizer 
  EQ ประเภทนี้ถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถเลื่อนหาย่านความถี่ได้อย่างอิสระ ผู้ใช้งานสามารถกำหนดย่านความถี่ด้วยตัวเอง โดยการปรับความถี่ดังกล่าวจะทำให้ย่านความถี่ใกล้เคียงได้รับผลไปด้วย ใน Parametric Equalizer หนึ่งตัวอาจปรับค่าความถี่พร้อมๆ กันได้หลายความถี่ ซึ่งเรามักจะพบอุปกรณ์ดังต่อไปนี้ใน Parametric Equalizer 
- Band (Bandwidth) :
 ช่วงความถี่ของคลื่น ใน EQ หนึ่งชุดสามารถมีได้หลาย Band 

- Frequency : ตำแหน่งความถี่ที่ต้องการปรับแต่ง มีหน่วยเป็น Hz 

- Q : ค่ากำหนดความกว้างของช่วงความถี่เสียง 

- Gain : ค่าความดังของถวามถี่นั้นๆ สามารถเพิ่ม หรือลดตามความเหมาะสม 

         ความแตกต่างของ EQ ทั้งสองแบบ ต่างกันที่ Graphic Equalizer ถูกกำหนดย่านความถี่ตายตัวมาจากโรงงาน ผู้ใช้งานมีหน้าที่เพิ่มหรือลด Gain ของย่านความถี่นั้นๆ ตามความเหมาะสม แต่ Parametric Equalizer เป็น EQ ที่สามารถเลื่อนหาย่านความถี่ได้อย่างอิสระ สามารถกำหนดย่านความถี่ได้ด้วยตนเอง ซึ่งสามารถทำได้ละเอียดกว่า 

      

3. Compresser 

Compress คืออะไร ? 

         อุปกรณ์ชนิดหนึ่งซึ่งมีหน้าที่ จัดการควบคุมระดับของสัญญาณเสียง เมื่อก่อน Sound Engineer นิยมใช้เพื่อควบคุมความดังเบา แต่ในปัจจุบัน นิยมใช้เพื่อให้เสียงนั้นแน่นและมีพลังมากขึ้น ซึ่งความหมายก็ตรงตัว การ Compress คือการ บีบอัด หรือ กดสัญญาณเสียง อธิบายคือ เวลาที่สัญญาณเสียงที่เข้ามาเกินกว่าระดับที่เราตั้งเอาไว้ Compress จะทำการกดสัญญาณลงมาให้อยู่ในระดับที่ตั้งไว้  ส่วนเสียงที่ไม่เกินกว่าระดับที่ตั้งไว้ Compress จะปล่อยออกไปตามปกติ สรุปคือหน้าที่ของ Compressor คือ ทำให้ระดับสัญญาณเสียงที่เบา กับระดับเสียงที่ดัง ไม่ให้เกิดระยะห่างแตกต่างมากเกินไป 

 

4. Reverb 

 

     ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายๆ Reverb ก็เหมือนการที่เราได้ยินเสียงตัวเองเวลาร้องเพลงในห้องน้ำนั่นแหละครับ โดย Reverb เป็นอีกหนึ่ง์ Effect มาตรฐานที่ดิจิตอลมิกเซอร์เกือบทุกยี่ห้อมีมาให้ ส่วนใหญ่จะนิยมใช้กับเครื่องดนตรีหลายๆ ประเภท เช่น เสียงร้อง กีตาร์ กลอง คีย์บอร์ด และอื่นๆ เราลองมาศึกษาหลักการคร่าวๆ ดูครับ Reverb มันเป็นเสียงที่รักษาสภาพเสียงจากแหล่งกำเนิดไว้ แม้ว่าเสียงจากแหล่งกำเนิดจะสิ้นสุดไปแล้วก็ตาม เช่นเราพูดว่า "หนึ่ง" แม้เราหยุดพูดคำว่า "หนึ่ง" ไปแล้ว แต่เรารับรู้ได้ว่ามันยังมีเสียงหนึ่งตามมาหรือค้างอยู่ จะค้างมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่เราพูดอยู่ในขณะนั้นๆ หรือแหล่งกำเนิดเสียงนั้นถูกปล่อยออกมา เรานิยมเรียกเสียงนี้ว่า เสียงก้อง เสียงทุกเสียงจะมีคาแร็กเตอร์ของมัน เพราะปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดคาแร็กเตอร์เสียงที่มีส่วนสำคัญยิ่งคือ ค่าความก้อง นี่แหละ ถ้าเราไปพูดคำว่า "หนึ่ง" ที่สยามสแควร์จะได้โทนแบบหนึ่ง ไปพูดในโบสถ์ย่านดินแดง จะได้โทนเสียงแบบหนึ่ง พูดที่ห้องสมุดแห่งชาติจะได้โทนเสียงอีกแบบ ไปพูดที่สนามกีฬาฯแห่งชาติก็จะได้โทนเสียงอีกแบบ ฉะนั้น Reverb ถึงถูกใช้งานอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นงานมิกซ์เสียง งานบันทึกเสียง เพราะสามารถใช้ได้กับทุกเครื่องดนตรี เสียงร้อง หรือเสียงที่เราต้องการให้เป็นธรรมชาติของสถานที่แห่งนั้น 

 

5. Delay 

คือ การเพิ่มมิติของเสียงให้ไม่แบนแห้งจนเกินไป โดย Delay จะทำให้หางเสียงของเสียงนั้นๆดังวนเป็นจังหวะไปเรื่อย ๆทำให้เสียงดูมีอิสระ เเละมีความน่าฟังมากยิ่งขึ้น

โดยเราสามารถกำหนดค่าของ Delay ให้วนต่อเนื่องไปมากแค่ไหน เเละมีความดังเเค่ไหนได้จาก Plugin เลยครับ 

    นี่ก็เป็นเทคนิคการ Mixing ง่ายๆแบบเบื้องต้นนะครับ ส่วนลูกค้าเเละท่านผู้ชมท่านไหนสนใจข้อมูลเพิ่มเติมก็สามารถติดต่อหรือสอบถามเราร้าน 

Millionhead Pro-Audio ได้เลย ทางเรายินดีให้คำแนะนำกับทุกๆท่านครับ 

    และสุดท้ายนี้ จั๋งดุ๋งก็หวังว่าข้อมูลดีๆ ที่ได้มาเล่าสู่กันฟังนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยแก่ท่านผู้ชมทุกๆท่านนะครับ ก็ขอลาไปก่อนพบกันใหม่คราวหน้าจะมีบทความดีๆอะไรมานำเสนอก็ฝากติดตามกันด้วยนะครับ สำหรับวันนี้ สวัสดีครับ เจอกัน

Cr.JungDung

 

สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

Line@ : @millionheadpro
Facebook : millionheadpro
Instagram : millionheadpro